Sutthasinee - ประวัติความเป็นมาของการแกะสลักผักและ




ประวัติความเป็นมาของการแกะสลักผักและผลไม้  
 

       การแกะสลักผักและผลไม้เป็นงานฝีมือที่เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทยที่มีมาแต่โบราณ  แต่จะเริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด  แต่มีหลักฐานที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องนางนพมาศ  หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งได้บรรยายถึงพระราชพิธีจองเปรียง  ในวันเพ็ญเดือน 12 รัชสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นนักขัตฤกษ์ ชักโคม ลอยโคม นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์  ได้คิดตกแต่งโคมลอยให้งามประหลาดกว่าโคมของพระสนมทั้งปวง โดยเลือกผกาเกสรสีต่างๆ  ประดับเป็นรูปดอกไม้ ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย แล้วนำผลพฤกษาลดาชาติ มาแกะจำหลักเป็นรูปมยุระคณานกวิหกหงส์  ให้จับจิกเกสรบุปผชาติ อยู่ตามกลีบดอกกระมุทเป็นระเบียบเรียบร้อย  วิจิตรไปด้วยสีย้อม สดส่าง ควรจะทอดทัศนายิ่งนัก ทั้งเสียบแซมเทียน ธูป  และประทีปน้ำมันแปรียง เจือด้วยไขข้อพระโค   (กรมศิลปากร นางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์  2514 : หน้า 97 -98 )
 

         ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น  การแกะสลักผักและผลไม้มีปรากฏขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเห็นได้จากพระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและเห่ชมผลไม้ ตอนหนึ่งว่า




 

                                    น้อยหน่านำเมล็ดออก                              ปล้อนเปลือกออกเป็นอัศจรรย์

 
มือใครไหนจักทัน
                                                          เทียบเทียมที่ฝีมือนาง
 
 

                   (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  2530 : 14)


 

                                                          ผลเงาะไม่งามแงะ                          มล่อนเมล็ดและเหลือปัญญา           

               
หวนเห็นเช่นรจนา
                                                จำเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม

 

                   (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  2530 : 17)


 

                    ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร  เรื่องสังข์ทอง บรรยายตอนนางจันท์เทวี แกะสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องของนางกับพระสังข์
ตอนหนึ่งดังนี้

 
 

                   เมื่อนั้น                                                    นางจันทร์ชื่นชมสมหมาย


อุตสาห์เหนื่อยยากฝากกาย
                                  ให้วิเสททั้งหลายเขาเมตตา


นางต้มแกงแต่งเครื่องเวลาไร
                                ชอบพระทัยลูกรักนักหนา


สมหวังดังจิตที่คิดมา
                                               กัลยาจะแกล้งแกงฟัก      


จึงหยิบยกมาตั้งนั่งฝาน
                                           เอาไว้ในจานแล้วเจียนจัก


แกะเป็นรูปองค์นงลักษณ์                         
เมื่ออยู่กับผัวรักในวัง

 
 

         ชิ้นหนึ่งทรงครรภ์กัลยา                  คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์


 
ชิ้นสองท่องเที่ยวเซซัง                  อุ้มลูกไปยังพนาลัย


ชิ้นสามเมื่ออยู่ด้วยยายตา
                            ลูกยาออกช่วยขับไก่


ชิ้นสี่กัลยามาแต่ไพร
                                       ทุบสังข์ป่นไปกับนอกชาน


ชิ้นห้าบิตุรงค์ทรงศักดิ์
                                     ห้จับตัวลูกรักมาจากบ้าน
 

 


ชิ้นหกจองจำทำประจาน
                                ให้ประหารค่าฟันให้บรรลัย


ชิ้นเจ็ดเพชฌฆาตเอาลูกยา
                            ให้ถ่วงลงคงคาน้ำไหล

 


เป็นเจ็ดชิ้นสิ้นเรื่องอรไท
                                   ใครใครไม่ทันจะสงกา  

 
 

                    ( พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  2513 : 253 - 254 )


 
 

                    พระราชนิพนธ์เรื่องขุนช้างขุนแผน บางตอนจะเป็นเรื่องราว วิถีของคนไทยในสมัยของกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในวรรณคดี
ตอนที่มีเทศน์มหาชาติที่วัดป่าเลย์ไลยก์ได้บรรยายถึง การทำหมากประจำกัณฑ์ ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องกัณฑ์เทศน์ โดยหมากประจำกัณฑ์ของขุนช้างบรรยาย ว่า


 

                    มะละกอซื้อมาตะกร้าจีน                             เอาอย่างหั่นขวั้นสิ้นหาช้าไม่


 

เม็ดยอช่อตั้งขึ้นบังใบ                                                    รายเรียงเคียงใส่ไว้เบื้องบน


 

แกะเป็นหลวงชีขี่ตาเถร                 
แกะเจ้าเณรเคียงคั่นไว้ชั้นต้น


 

แกะแร้งกินผีดูพิกล                                                      เอาดอกรักปักปนกับดาวเรือง


 

                     (
ขุนช้างขุนแผน
  2544 : 47 )


 

                    ส่วนหมากประจำกัณฑ์ของนางพิมอธิบายว่า


 

                    เอามะละกอมาผ่าสับ                               ช่วยกันแกะสลักเป็นหนักหนา


 

แล้วย้อมสีสดงามอร่ามตา                                             ประดับประดาเป็นที่สีขรินทร์


 

แกะเป็นราชสีห์สิงหอัสน์                                              เหยียบหยัดยืนอยู่ดุเฉิดฉิน


 

แกะเป็นเทพพนมพรหมมินทร์                                        พระอินทร์ถือแก้วแล้วเหาะมา


 

แกะเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ                                      ผาดผ่านแผ่นผยองล่องเวหา


 

ยกไปให้เขาโมทนา                                                    ฝูงข้าก็รับไปทันที


 

                      ( ขุนช้างขุนแผน  2544 : 48 )


 

                     จากพระราชนิพนธ์ที่ยกมาบ้างตอน จะเห็นว่าคนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น รู้จักการแกะสลักผักและผลไม้ เพื่อรับประทานหรือเพื่อตกแต่งอาหารเริ่มปรากฏในวังมาก่อน  ทำให้ทราบว่ากุลสตรีในสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถันกับการจัดตกแต่งผัก ผลไม้และการปรุงแต่งอาหารเป็นพิเศษ  การเรียนรู้การแกะสลักผักและผลไม้ในสมัยก่อน เมื่อเริ่มตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นในรัชสมัยพระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 พ.ศ. 2453) ได้นำวิชาการช่างสตรีมาสอน เช่น วิชาการแกะสลักผักและผลไม้ และในปัจจุบันการแกะสลักผักและผลไม้ยังจัดทำการสอนทั้งในระดับโรงเรียน ระดับวิทยาลัย  และระดับมหาวิทยาลัย โดยได้มีหลักสูตรสอนเยาวชนไทยได้รู้จักแกะสลักผักและผลไม้เป็นรูปแบบต่างๆ


 

                     ดังนั้น  งานศิลปะการแกะสลัก จึงมีค่าควรแก่การที่จะอนุลักษณ์สืบต่อไปจนถึงลูกหลาน ให้ชาวต่างชาติได้เห็นเอกลักษณ์ความเป็นไทย อันอ่อนช้อย งดงาม ประณีตละเอียดอ่อน  และความอดทนในงานแกะสลักผัก-ผลไม้ ของคนไทย  ปัจจุบันมีการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ขึ้นมา  มีการจัดงานประกวดในสถานที่ต่างๆ เพื่ออนุรักษ์งานแกะสลักให้กับคนรุ่นใหม่สืบต่อไป.


 

 

 

ความเป็นมาของการแกะสลักผักและผลไม้

        ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่มีความชอบในเรื่องของการแกะสลักผักและผลไม้และมีความสามารถพิเศษด้านการแกะสลักผักและผลไม้  ซึ่งได้ผ่านการแข่งขันมาหลายครั้งตั้งแต่ที่เรียนประถมจนถึงมัธยม  แต่ช่วงที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยไม่ได้ไปแข่งขันที่ไหนเลย  จึงนึกถึงความสามารถของตัวเอง ซึ่งมันทำให้เราฝึกในเรื่องของการมีสมาธิ  ความละเอียด  ความประณีตและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  มีความสุขมากที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบและถนัด


        การแกะสลักผักและผลไม้  เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยเลยทีเดียว
ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียมได้  แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้เห็นจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปหรือลดน้อยลงไปเรื่อย


       การแกะสลักผักและผลไม้เดิมเป็นวิชาการขั้นสูงของกุลสตรีในรั้วในวัง  ต้องฝึกฝนและเรียนรู้จนเกิดความชำนาญบรรพบุรุษของไทยเราได้มีการแกะสลักกันมานานแล้ว   แต่จะเริ่มกันมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่มีผู้รู้เนื่องจากไม่มีหลักฐานแน่ชัด  จนถึงสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ในรัชสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้าได้มีนางสนมคนหนึ่งชื่อ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศขึ้น  และในหนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงพิธีต่าง ๆ ไว้ และพิธีหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นนักขัตกฤษ์ชักโคมลอยนางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยให้งามประหลาดกว่าโคมของพระสนมทั้งปวงได้เลือกผกาเกสรสีต่าง ๆ ประดับเป็นรูปดอกกระมุทบานกลีบรับแสงพระจันทร์ล้วนแต่พรรณของดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลายแล้วจึงนำเอาผลพฤกษาลดาชาติมาแกะสลักเป็นระมยุระคณานกวิหคหงส์ให้จับจิกเกสรบุปผาชาติอยู่ตามกลีบดอกกระมุทเป็นระเบียบร้อยวิจิตรไปด้วยสีย้อมสดส่ง ควรจะทอดทัศนายิ่งนักทั้งเสียบแซมเทียนธูปและประทับน้ำมันเปรียงเจือด้วยไขข้อระโค (กรมศิลปากร,2531 : 97 –98) จึงได้มีหลักฐานการแกะสลักมาตั้งแต่สมัยนั้น


        ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดการประพันธ์ยิ่งนักพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน และแห่ชมผลไม้ได้พรรณนาชมฝีมือการทำอาหาร การปอกคว้านผลไม้ และประดิดประดอยขนมสวยงาม และอร่อยทั้งหลายว่าเป็นฝีมืองามเลิศของสตรีชาววังสมัยนั้น พระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวานตอนหนึ่งว่า 


 

          น้อยหน่านำเมล็ดออก    ปล้อนเปลือกปอกเป็นอัศจรรย์


มือใครไหนจักทัน                     เทียบเทียมที่ฝีมือนาง


ผลเงาะไม่งามแงะ                    มล่อนเมล็ด และเหลือปัญหา


หวนเห็นเช่นรจนา       
             จำเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม


 

และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องสังข์ทอง พระองค์ทรงบรรยายตอนนางจันทร์เทวีแกะสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวของนางกับพระสังข์นอกจากนั้นยังมีปรากฏในวรรณกรรมไทยแทบ ทุกเรื่องเมื่อเอ่ยถึงตัวนางซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องว่า มีคุณสมบัติของกุลสตรีเพรียกพร้อมด้วยฝีมือการปรุงแต่งประกอบอาหารประดิดประดอยให้สวยงามทั้งมีฝีมือในการประดิษฐ์งานช่างทั้งปวงทำให้ทราบว่า กุลสตรีสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถันกับการจัดตกแต่งผัก ผลไม้และการปรุงแต่งอาหารเป็นพิเศษ จากข้อความนี้น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่าการแกะสลักผัก ผลไม้ เป็นศิลปะของไทยที่กุลสตรีในสมัยก่อนมีการฝึกหัดเรียนรู้ผู้ใดฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ ก็จะได้รับการยกย่อง

       ปัจจุบันวิชาการช่างฝีมือเหล่านี้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษามัธยมศึกษามาจนถึงอุดมศึกษาเป็นลำดับ ประกอบกับรัฐบาลและภาคเอกชนได้ให้การสนับสนุนจึงมีการอนุรักษ์ศิลปะต่าง ๆ อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะการแกะสลักผลงานประเภทเครื่องจิ้มจนกระทั่งงานแกะสลักได้กลายเป็นสิ่งที่ต้องประดิษฐ์ตกแต่งบนโต๊ะอาหารในการจัดเลี้ยงแขกต่างประเทศ ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ภัตตาคารตลอดจนร้านอาหาร ก็จะใช้งานศิลปะการแกะสลักเข้าไปผสมผสานเพื่อให้เกิดความสวยงามหรูหรา และประทับใจแก่แขกในงาน หรือสถานที่นั้น ๆ งานแกะสลักผลไม้ จึงมีส่วนช่วยตกแต่งอาหารได้มาก คงเป็นเช่นนี้ตลอดไป



 

งานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างหลายแขนง การแกะสลักก็เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือเป็นมรดกมีค่าที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความถนัด สมาธิ ความสามารถเฉพาะตัว และความละเอียดอ่อนมาก การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของชาติไทยเลยทีเดียว ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียบเทียมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

การแกะสลักผักและผลไม้เดิมเป็นวิชาที่เรียนขั้นสูงของ กุลสตรีในรั้วในวัง ที่ต้องมีการฝึกฝนและเรียนรู้จนเกิดความชำนาญ บรรพบุรุษของไทยเราได้มีการแกะสลักกัน มานานแล้ว แต่จะเริ่มกันมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่มีใครรู้แน่ชัด เนื่องจากไม่มีหลักฐานแน่ชัด จนถึงในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้มีนางสนมคนหนึ่งชื่อ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้น และในหนังสือเล่มนี้ ได้พูดถึงพิธีต่าง ๆ ไว้ และพิธีหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นพิธีโคมลอย นางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยที่งดงามประหลาดกว่าโคมของพระสนมคนอื่นทั้งปวง และได้เลือกดอกไม้สีต่าง ๆ ประดับให้เป็นลวดลายแล้วจึงนำเอาผลไม้ มาแกะสลักเป็นนกและหงส์ให้เกาะเกสรดอกไม้อยู่ตามกลีบดอก เป็นระเบียบสวยงามไปด้วยสีสันสดสวย ชวนน่ามองยิ่งนัก รวมทั้งเสียบธูปเทียน จึงได้มีหลักฐานการแกะสลักมาตั้งแต่สมัยนั้น

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดการประพันธ์ยิ่งนัก พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน และแห่ชมผลไม้ได้พรรณนา ชมฝีมือการทำอาหาร การปอกคว้านผลไม้ และประดิดประดอยขนมสวยงาม และอร่อยทั้งหลาย ว่าเป็นฝีมืองามเลิศของสตรีชาววังสมัยนั้น และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง สังข์ทอง พระองค์ทรงบรรยายตอนนางจันทร์เทวี แกะสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวของนางกับพระสังข์ นอกจากนั้นยังมีปรากฏในวรรณกรรมไทยแทบ ทุกเรื่อง เมื่อเอ่ยถึงตัวนางซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องว่า มีคุณสมบัติของกุลสตรี เพรียกพร้อมด้วยฝีมือการปรุงแต่งประกอบอาหารประดิดประดอยให้สวยงามทั้งมี ฝีมือในการประดิษฐ์งานช่างทั้งปวง ทำให้ทราบว่า กุลสตรีสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถันกับการจัดตกแต่งผัก ผลไม้ และการปรุงแต่งอาหารเป็นพิเศษ จากข้อความนี้น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า การแกะสลักผัก ผลไม้ เป็นศิลปะของไทยที่กุลสตรีในสมัยก่อนมีการฝึกหัด เรียนรู้ผู้ใดฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ ก็จะได้รับการยกย่อง

งานแกะสลักใช้กับของอ่อน สลักออกมาเป็นลวดลายต่างๆอย่างงดงาม มีสลักผัก สลักผลไม้ สลักหยวกกล้วยถือเป็นงานช่างฝีมือของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ งานสลักจึงอยู่ในงานช่าง 10 หมู่ เรียกว่า ช่างสลัก ในช่างสลักแบ่งออกย่อย คือ ช่างฉลุ ช่างกระดาษ ช่างหยวก ช่างเครื่องสด ส่วนช่างอีก 9 หมู่ที่เหลือได้แก่ ช่างแกะ ที่มีทั้งช่างแกะตรา ช่างแกะลาย ช่างแกะพระหรือภาพช่างหุ่น มีช่างไม้ ช่างไม้สูง ช่างปากไม้ ช่างปั้น มีช่างขี้ผึ้ง ช่างปูน เป็นช่างขึ้นรูปปูน มีช่างปั้น ช่างปูนก่อ ช่างปูนลอย ช่างปั้นปูน ช่างรัก มีช่างลงรัก มีปิดทอง ช่างประดับกระจก ช่างมุก ช่างบุ บุบาตรพระเพียงอย่างเดียว ช่างกลึง มีช่างไม้ ช่างหล่อ มีช่างหุ่นดิน ช่างขี้ผึ้ง ช่างผสมโลหะ ช่างเขียน มีช่างเขียน ช่างปิดทอง

การสลักหรือจำหลัก จัดเป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่งในจำพวกประติมากรรม เป็นการประดิษฐ์วัตถุเนื้ออ่อนอย่างผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เป็นรูปร่าง หรือมีรูปร่างอยู่แล้วสร้างสรรค์ให้สวยงามและพิสดารขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่มีความแหลมคม โดยใช้วิธีตัด เกลา ปาด แกะ คว้าน ทำให้เกิดลวดลายตามต้องการ ซึ่งงานสลักนี้เป็นการฝึกทักษะสัมพันธ์ของมือและสมอง เป็นการฝึกจิตให้นิ่ง แน่วแน่ต่องานข้างหน้า อันเป็นการฝึกสมาธิได้อย่างดีเลิศ

การสลักผักผลไม้นอกจากจะเป็นการฝึกสมาธิแล้วยังเป็นการฝึกฝีมือให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษ และต้องมีความมานะ อดทน ใจเย็น และมีสมาธิเป็นที่ตั้ง รู้จักการตกแต่ง มีความคิดสร้างสรรค์ การทำงานจ้องให้จิตใจทำไปพร้อมกับงานที่กำลังสลักอยู่ จึงได้งานสลักที่สวยงามเพริศแพร้วอย่างเป็นธรรมชาติ ดัดแปลงเป็นลวดลายประดิษฐ์ต่างๆ ตามใจปรารถนา

ปัจจุบันวิชาการช่างฝีมือเหล่านี้ ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษามาจนถึงอุดมศึกษาเป็นลำดับ ประกอบกับรัฐบาลและภาคเอกชนได้ให้การสนับสนุน จึงมีการอนุรักษ์ศิลปะต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการแกะสลักผลงานประเภทเครื่องจิ้ม จนกระทั่งงานแกะสลักได้กลายเป็นสิ่งที่ต้องประดิษฐ์ ตกแต่งบนโต๊ะอาหารในการจัดเลี้ยงแขกต่างประเทศ ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ภัตตาคาร ตลอดจนร้านอาหาร ก็จะใช้งานศิลปะการแกะสลักเข้าไปผสมผสานเพื่อให้เกิดความสวยงาม หรูหรา และประทับใจแก่แขกในงาน หรือสถานที่นั้น ๆ งานแกะสลักผลไม้ จึงมีส่วนช่วยตกแต่งอาหารได้มาก คงเป็นเช่นนี้ตลอดไป  

 

          

 


 

 


 

Today, there have been 8 visitors (14 hits) on this page!

This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free