อุปกรณ์เพิ่มเติม
1. อ่างผสมหรืออ่างใส่น้ำ ใช้สำหรับใส่น้ำล้างผัก และผลไม้ที่จะแกะสลัก หรือสำหรับใส่ผลไม้ที่ยังไม่ได้แกะสลัก ซึ่งมีหลายรูปแบบและขนาดแตกต่างกัน แล้วแต่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน
2. เขียง ใช้สำหรับรองรับมีด เมื่อปอกหรือหั่น ผัก – ผลไม้ชิ้นใหญ่หรือเปลือกแข็งจะเป็นเขียงไม้หรือพลาสติกก็ได้ แต่ควรจะเป็นเขียงที่สะอาด และไม่มีกลิ่น และควรล้างทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน เพื่อไม่ให้มีเชื้อราติดอยู่บนเขียง
3. ผ้าขาวบาง เป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าที่ซับน้ำได้ดีใช้สำหรับคลุมผัก ผลไม้ ที่แกะสลักแล้วเวลาคลุมให้ชุบน้ำบิดพอหมาด เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานโดนลม ทำให้เหี่ยวได้ง่าย และสามารถยืดอายุของชิ้นงานได้ระยะสั้น ๆ หรือใช้สำหรับชิ้นขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถแช่เย็นได้
4. ภาชนะเก็บชิ้นงานหรือกล่องที่มีฝาปิดมิดชิด (ไม่ใช้กล่องกระดาษ) หรืออาจจะใช้ถุงพลาสติก สำหรับใส่ผักผลไม้ที่แกะสลักแล้ว ปิดฝาให้แน่นนำไปใส่ตู้เย็นชั้นผัก
5. ผ้าขนหนู หรือผ้าฝ้ายตัดเย็บให้มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งานได้ เช่น ใช้เช็ดโต๊ะ เช็ดมือ หรือภาชนะต่าง ๆ
ในขณะแกะสลัก
6. ถังขยะ อาจใช้ถุงพลาสติกหรือถังขยะทั่วไป เพื่อรวบรวมเศษผัก – ผลไม้ ที่เหลือจากการปอก คว้าน หรือแกะสลัก
7. ถาด ใช้สำหรับใส่ผักและผลไม้ที่ยังไม่ได้แกะสลักหรือแกะสลักแล้ว หรือสำหรับรองเศษผัก – ผลไม้ที่แกะสลักก่อนจะใส่ถังขยะก็ได้ มีรูปแบบต่าง ๆ กันแล้วแต่ผู้ผลิต
8. ผ้ากันเปื้อน ใช้สำหรับกันเสื้อผ้า และชุดของผู้แกะสลักไม่ให้สกปรก
9. หินลับมีด ใช้สำหรับลับมีดให้คมอยู่ตลอดเวลา จะเป็นก้อนใหญ่หรือเล็กก็ได้หรือจะเป็นรูปแบบต่างๆ แล้วแต่ผู้ผลิต แต่ต้องเป็นหินที่มีเนื้อละเอียดหากมีเนื้อหินหยาบจะทำให้เสียเนื้อมีด เมื่อใช้ลับมีดแกะสลัก